12/27/2554

เขียนโปรแกรมส่ง Email ด้วย PHP

ถ้าหากเราต้องการ ส่ง Email โดยใช้โปรแกรม PHP สามารถทำได้โดยใช้ function mail ดังนี้

$email_reciver="reciver@email.com";// email ที่ได้รับ
$msg = "<HTML><HEAD><meta http-equiv=\"Content-Type\" content=\"text/html; charset=windows-874\" /></HEAD><BODY>Hello World</BODY></HTML>";// เนื้อหาใน email
$topic="Hello"; //หัวข้อ email

$headers = "From: sender@email.com\r\n";//Email ที่ ส่งไป
$headers.= "Content-Type: text/html; charset= windows-874";//กำหนดให้ Email ที่ส่งแสดงเป็นภาษาไทย

/*เรียก function  ส่ง Email */
mail($email_reciver,$topic,$msg,$headers);

11/04/2554

การพัฒนา Web Application แบบ Ajax ด้วย Jquery

Jquery เป็น javascript library ที่ได้รับความนิยมมากในการพัฒนา Web Application แบบ ajax ( ajax คือ รูปแบบการพัฒนา Web Application ที่ใช้ javascript รับส่งข้อมูลกับโปรแกรมที่อยู่ฝั่ง server  ทำให้ Web Application สามารถทำงานได้เร็วขึ้น )

ตัวอย่างขั้นตอน การพัฒนา Web Application แบบ Ajax ด้วย Jquery 

โดยตัวอย่างนี้จะเป็นการรับค่าปี พ.ศ. จาก text box แล้วนำไปแปลง เป็นปี ค.ศ. ในโปรแกรมที่เขียนด้วย PHP ที่ฝั่ง Server

1. สรา้งไฟล์ index.html ขึ้นมา
2. เขียน Code เรียกใช้ jquery
<script type="text/javascript" src="http://code.jquery.com/jquery-1.6.4.min.js"></script>
3. สร้าง text box รับค่าปี พ.ศ. โดย กำหนดให้มี id เป็น year1
ปี พ.ศ. <input type="text" id="year1" /> 
4.สร้างปุ่มกดสำหรับสั่งให้แปลงปี พ.ศ. เป็น ค.ศ. โดยกำหนดให้เมื่อคลิกแล้วระบบจะเรียกใช้ function call_ajax() พร้อมทั้งเว้น บรรทัด ด้วย tag <br />
<input type="button" value="OK" onclick="call_ajax()" /></br>
5. สร้างส่วนแสดงปี ศ.ศ.
ปี ค.ศ. <span id="year2"></span>
6. ใส่ code javascript ส่วนที่เป็น ajax ของ jquery 

<script type="text/javascript">

function call_ajax()
{
//แสดงข้อความบอกให้รอขณะส่งข้อมูลไป
$("#year2").html("กรุณารอสักครู่....");
$.ajax({ //เรียกใช้ function ajax ของ  jquery
//ส่งค่าปี พ.ศ. เป็นแบบ GET ให้ไฟล์ ajax.php
url: "ajax.php?year="+$("#year1").val(),
success: function(data){//รับค่าที่ส่งกลับมาจากไฟล์  ajax.php
$("#year2").html(data);// แสดงปี ค.ศ.ที่รับมา (ตัวแปร data) 
}
});
}

</script>


7. สร้า้งไฟล์ ajax.php ซึ่งรับค่า ปี พ.ศ. แล้วแปลงเป็นปี ค.ศ. แล้วส่งค่าลับไป
<?php
$year=$_GET["year"];//รับค่าปี พ.ศ. 
$year-=543;//เปลี่ยนค่าปี พ.ศ. เป็น ค.ศ.
echo $year;//ส่งค่าปี ค.ศ. กลับไป
?>


รูปภาพตัวอย่าง

ก่อนคลิก ok

หลังคลิก ok


7/29/2554

การอ่านข้อมูลจากตารางใน MySQL

ขั้นตอนในการ อ่านข้อมูลของตารางใน MySQL มีขั้นตอนต่างๆดังนี้
  1. เริ่มการเชื่่อมต่อกับ MySQL โดยกำหนด Username Password และชื่อฐานข้อมูล ดังนี้ 
    $dbHost="localhost";
    $dbUname="root"; // username สำหรับ mysql
    $dbPword="1234"; // password ของ mysql
    $dbName="shop"; // ชื่อ database
    $link=mysql_connect($dbHost,$dbUname,$dbPword);
    mysql_select_db($dbName,$link);
  2. สร้างคำสั่ง SQL และส่งคำสั่ง SQL ที่สรา้งให้ mysql
    $sql="SELECT name FROM product WHERE id=1";
     //สร้างคำสั่ง SQL ดูชื่อสินค้า(name) ของสอนค้ารหัส 1 WHERE id=1  จากตาราง product 
    $result=mysql_query($sql);
    //ส่งคำสั่ง SQL ให้ mysql ทำงานโดย mysql จะส่งผลลัพธ์กลับมาอยู่ในตัวแปร $result
  3. นำแถวข้อมูลที่ได้จาก mysql มาเก็บไว้ในตัวแปร $product และพิมพ์ชื่อสินค้าออกมา
    $product=mysql_fetch_array($result);//นำแถวข้อมูลจาก mysql มาไว้ในตัวแปร $product
    echo $product["name"];//พิมพ์ชื่อสินค้าออกมาทาง web browser

6/06/2554

การสร้า้ง link แบบ เปลี่ยนสี

หากต้องการสร้า้ง link ให้สามารถเปลี่ยนสีตัวอักษรได้เมื่อนำ mouse ไปวางบนตัวอักษร เราสามารถทำได้โดยกำหนด style sheet ดังนี้

<style type="text/css">
a
{
      color:green;
}

a:hover
{
     color:red;
}
</style>
<a href="http://www.google.co.th">Google</a>

จากตัวอย่าง

a
{
      color:green;
}
คือ การกำหนดให้ตัวอักษรของ Hyperlink เป็นสีเขียว

a:hover
{
     color:red;
}

คือ การกำหนดให้เมื่่่อนำ mouse มาวางที่ link แล้ว ตัวอัษรจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

5/25/2554

การส่งค่าแบบ GET ใน PHP

  • การส่งค่าแบบ GET คือการส่งค่ามาพร้อมกับ URL เช่น
  • http://localhost/test_get.php?val1=a&val2=b
  • จากตัวอย่างจะเห็นว่าหลังชื่อไฟล์ .php จะมี เครื่องหมาย ? เพื่อแสดงว่าจะมีการส่งค่าแบบ GET ในที่นี้มีการส่งค่าแบบ GET มาสองค่า คือ val1 และ val2 จาก val1=a&val2=b  
  • จาก val1=a&val2=b  จะสังเกตุได้ว่า เราจะใช้ & ขั้นระหว่างแต่ละค่าที่ต้องการส่งมา (val1,val2)
  • เราสามารถทราบค่าของตัวแปร GET ต่างๆที่ส่งมาได้โดยใช้คำสั่ง PHP เช่น ถ้าเราต้องการทราบค่าของ val1 ส่งมาพร้อมกับ URL (การส่งค่าแบบ GET ) เราใช้คำสั่ง $_GET["val1"]

ตัวอย่าง

เรียกโปรแกรมโดยเปิด web browser  http://localhost/test_get.php?val1=a&val2=b
จะสังเกตุว่ามีการส่งค่า val1 และ val2 แบบ GET มา
ที่ไฟล์ test_get.php เราสามารถแสดงค่า val1 และ val2 ได้ดังนี้
<?php

    echo $_GET["val1"];
    echo $_GET["val2"];

?>



5/23/2554

โครงสร้างพื้นฐานของเอกสาร HTML

<html>
       <head>
                <title>ข้อความที่จะแสดงบน tiltie bar ของโปรแกรม web browser</title>
        </head>
<body>
...
...
...เนื้อหาเว็บ...
...
...
</body>
</html>



  1. เอกสาร HTML จะต้องเริ่มต้นด้วย <html> และ ปิดด้วย </html>
  2.  <head><title>ข้อความที่จะแสดงบน tiltie bar ของโปรแกรม web browser</title></head>  ให้เราพิมพ์ข้อความที่ต้องการให้แสดงใน title bar ของ web browser ภายใต้ tag <title></title>
  3. เนื้อหาทั้งหมดของหน้าเว็บจะอยู่ภายใต้ tag <body></body>
เช่นตัวอย่าง



<html>
       <head>
                <title>Hello World</title>
        </head>
<body>
Hello Word
</body>
</html>

เมื่่อบันทึกไฟล์เป็น .html แล้วลองรันผ่านโปรแกรม web browser แล้วจะได้ผลตามรูปด้านล่าง


    5/15/2554

    การใช้งาน phpMyAdmin

    • phpMyAdmin คือ โปรแกรมที่เป็น web application ที่ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลที่อยู่ใน MySQL ทำให้การจัดการข้อมูลใน MySQL มีความง่ายขึ้น
    • โดยตัวโปรแกรม phpMyAdmin นี้จะมาพร้อมกันอยู่ในชุดโปรแกรม AppServ อยู่แล้ว
    • เราสามารถเปิด phpMyAdmin ได้โดยเปิดโปรแกรม web browser แล้วพิมพ์ http://localhost/phpMyAdmin/ ที่ address bar

    ทดลองสร้างตรารางสินค้า (Table product) สำหรับฐานข้อมูลชื่อว่า shop  


    1. .ให้ login เข้าไปใน phpMyAdmin  โดยเปิด http://localhost/phpMyAdmin/
    2. สร้างฐานข้อมูลใหม่ชื่อว่า shop  แล้วคลิก ok

    3. สร้างตารางชื่อว่า product จำนวน 3 column  แล้วคลิก ลงมือ

    4.  สร้าง column จำนวน 3 column ชื่อว่า id(รหัสสินค้า)ซึ่งเป็น primary key เป็นข้อมูลประเภท จำนวนเต็ม   name(ชื่อสินค้า)เป็นข้อมูลประเภท ตัวอักษร( varchar )ขนาดห้าสิบตัวอักษร   qty(จำนวนสินค้า)เป็นข้อมูลประเภท จำนวนเต็ม แล้วคลิกบันทึก

    5. เมื่อกดบันทึกแล้วหน้าเว็บจะแสดงผลดังรูป




    5/03/2554

    คำส่ง while ในภาษา php

    คำสั่ง while ใช้สำหรับกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งที่กำหนดจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ
    (ในภาษา PHP คือภายใต้เครื่องหมายวงเล็บปีกกา {...} )
    รูปแบบของคำสั่ง while ใน ภาษา PHP คือ
    while(เงื่อนไข)
    {
         คำสั่ง;
         คำสั่ง;
         .....
         .....
    }
    โดย คำสั่ง; ... จะทำงานไปตามลำดับจนกว่า เงื่อนไข ที่กำหนดจะมีค่าเป็นเท็จ
    เช่น ตัวอย่างโปรแกรมนับเลข

    <?php

            $n1=1;
           
           while($n1<=10)
          {
                  echo $n1;
                  echo "<br />";
                  $n1++;
           }

    ?>
    เมื่อรันโปรแกรมจะพบว่าหน้า web browser จะแสดงเลขตั้งแต่ 1 ถึง 10 ไปทีละบรรทัด
    เพราะ เรากำหนดเงื่อนไขให้พิมพ์ค่าในตัวแปร $n1 ซ้ำซึ่งค่าในตัวแปร $n1 จะเพิ่มทีละหนึ่่ง
    (ดูคำสั่งสุดท้ายของ loop) ซึ่งเรากำหนดเงื่อนไขให้คำสั่งภายใน loop (คำสั่งภายใน  {...} ) ทำงานไปเลื่อยๆ
    ตราบใดที่ค่าของตัวแปร $n1 น้อยกว่า 10 คือ เงื่อนไข ($n1<=10)

    5/02/2554

    การสร้างกล่องข้อความยืนยันก่อนเปลี่ยนหน้า

       เราสามารถสร้างกล่องข้อความเพื่อถามยืนยันว่าต้องการเปลี่ยนหน้าได้โดยใส่ attribute onclick ใน tag <a></a> ที่แสดง link โดย attribute onclick จะมีค่าเป็น
    "confirm('.....ข้อความที่ต้องการให้แสดงเมื่อผู้ใช้คลิก link .....')" ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    <a href="logout.php" onclick="confirm('ต้องการออกจากระบบ ?')" >ออกจากระบบ</a>


    จากตัวอย่างด้านบนจะพบว่าเมื่อคลิกที่ ออกจากระบบ  จะมีกล่องข้อความถามว่า ต้องการออกจากระบบ ? พร้อมปุ่ม ok และ cancel ถ้าผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม ok web browser จะแสดงที่หน้า logout.php

    4/28/2554

    การแสดงจัดการตัวอักษรด้วย Style Sheet

         เราสามารถจัดรูปแบบการแสดงตัวอักษรได้โดยจัดให้ตัวอักษรอยู่ภายใต้ Tag <span></span> แล้วกำหนด attribute style ใน tag span ดังตัวอย่าง <span style="">....ข้อความ....</span>

    • การกำหนดสีให้ข้อความทำได้โดยใส่ color:#รหัสสี (รหัสสีสามารถดูได้จาก http://www.html-color-codes.info ) ภายใน style="" เช่น <span style="color:#0000FF">สีน้ำเงิน</span> คือการแสดงข้อความสีน้ำเงิน เพราะ #0000FF คือรหัสสีน้ำเงิน
    • การกำหนดให้ข้อความขีดเส้นใต้ทำได้โดยใส่ text-decoration:underline ภายใน style="" เช่น <span style=" text-decoration:underline">ขีดเส้นใต้</span>

    4/07/2554

    Syntax พื้นฐานของภาษา php

    1. การเขียนคำสั่งในภาษา php จะต้องอยู่ภายใต้ tag "<?php ..... ?> "
    2. ตัวแปรในภาษา php จะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย "$" เช่น $num=1 $var หมายถึงตัวแปร var
    3. แต่ละคำสั่งของภาษา php ขั้นด้วยเครื่องหมาย ; เหมือนภาษา c 
    4. การกำหมดค่าให้กับตัวแปรทำได้โดยใช้เครื่องหมาย "=" เช่น $num=1; คือ การกำหนดค่่าให้กับตัวแปล $num ให้มีค่าเท่ากับเลขจำนวนเต็ม 1
    5. หากต้องการกำหนดค่าให้กับตัวแปร string (ตัวแปรประเภทข้อความ) ให้ค่าของสัยแปรจะต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย " " หรือ ' 'เช่น <?php $str="string"; ?> คือ การกำหนดให้ตัวแปร $str มีค่าเท่ากับ "string"
    6. ใช้คำสั่ง echo เพื่อแสดงค่าตัวแปร string หรือ ตัวแปรตัวเลข หน้า web browser  เช่น
      <?php
                
      $str="string";
                echo $str;
       ?> ผลลัพธ์ที่ได้ คือ web browser แสดง คำว่า string
    7. เราสามารถนำ string มาต่อกันโดยใช้การ . เช่น
      <?php
                
      $str="string";
                $str2="string2";
                echo $str.$str2;
       ?>ผลลัพธ์ที่ได้ คือ web browser แสดง คำว่า stringstring2 
    8. เราสามารถใช้คำสั่ง echo "<br />"; เพื่อการขึ้นบรรทัดใหม่ได้
      <?php
                echo "Hello";
                echo "<br />";
                echo "World";
      ?>ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ในหน้า web browser จะแสดง คำว่า Hello หนึ่งบรรทัด และ World อีกหนึ่งบรรทัด